ข้ามไปยังเนื้อหา

คอนสแตลเลชั่นวิทยา : ตอนที่ 5 ปี ๒๕๕๓ ดาวพุธอยู่เหนือศรีษะตอนเที่ยงคืน ดาวเสาร์และดาวศุกร์เรียงตัวตรงข้ามดวงอาทิตย์ บ้านเมืองจะวุ่นวายจนกว่าดาวพฤหัสฯจะออกจากกลุ่มดาวหมีใหญ่

01.05.2010

วันนี้มีโอกาสได้ดูท้องฟ้าครั้งแรก ตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่มา  โดยนั่งอ่านเว็บ THAIASTRO อยู่ แต่ไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไร  เลยเปิดท้องฟ้าน้อยๆ หน้าจอคอม (Stellarium) ดูตามเค้าไปด้วย  ก็ตื่นตาตื่นใจเหมือนได้ชมท้องฟ้าจริงๆ (ไปอีกแบบ)

จึงลองสรุปเหตุการณ์ของดาวเคราะห์(ที่สามารถมองเห็นได้)บนท้องฟ้าดู ไว้อ่านเอง ปีนี้คงได้ดูอีกเยอะ

ดาวศุกร์

เป็นดาวเคราะห์ที่เห็นสว่างสุดแล้วบนท้องฟ้า  แต่ตั้งแต่เริ่มแหงนหน้าไปบนท้องฟ้าแล้วพยายามเรียกชื่อดาวทุกดวง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  ไม่เคยเห็นดาวศุกร์เลย  ปีนี้คงได้เห็นบ้าง (เกิดมา 20 ปีเพิ่งอยากจะเห็นเนอะ)

  • ดาวศุกร์เราจะเห็นเฉพาะตอนหัวรุ่ง และตอนหัวค่ำเท่านั้น เพราะมันอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเรา  คือหันอย่างไร มันก็ไม่อยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์  อย่างมากก็อยู่ห่างออกมา 47°  ซึ่งช่วยให้เรายังมองเห็นได้
  • จากข้อแรก เราจึงไม่เห็นดาวศุกร์ตอนเที่ยงคืน
  • ตอนหัวค่ำ เราเรียกว่า “ดาวประจำเมือง”  หัวรุ่ง เรียก “ดาวประกายพรึก”
  • มันจึงเริ่มหายไปจากท้องฟ้า ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (ว่าทำไมไม่เห็น)
  • และอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์เด๊ะๆ ในวันที่ 12 มกราคม
  • กว่าจะเห็นอีกทีก็ช่วงเดือนมีนาคม โดยดาวศุกร์จะเป็นดาวประจำเมือง
  • 12  สิงหาคม  วันแม่นี้เราก็จะเห็นดาวศุกร์อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวเสาร์ ขอพยากรณ์ว่า…. เจ้ย ไม่ใช่หมอดู แต่เคยได้ยินในทีวี หมอดงหมอดูทำนายเป็นตุเป็นตะ ว่าดาวโน้นเรียงตัวดาวนี้จะเกิดอะไร … เห้อ   เข้าเรื่อง… นอกจากนี้จะเห็นพระจันทร์เสี้ยว แล้วล่างพระจันทร์เสี้ยวก็มีดาวพุธอีก  อะไรจะกระจุกกันแต่ทิศนั้น จึงมาร์กไว้ว่าเป็นอีกวันที่ควรชมท้องฟ้าอย่างยิ่ง (ตอนเย็นๆนะ อย่าลืมเตือน(ตัวเอง))
  • ดาวประจำเมืองจะหายไปอีกทีตอนเดือนตุลาคม
  • กลางเดือนพฤศจิกายน  ก็จะกลายร่างเป็นดาวประกายพรึกซะงั้น เห็นตอนหัวรุ่ง และจะเป็นเช่นนี้จนถึงกลางปี 54 โน่น

ดาวพุธ

  • กลไกดาวพุธก็คล้ายดาวศุกร์ เพราะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า จึงเห็นแค่ขอบๆโลก
  • ปีนี้จะเห็นดาวพุธตอนเช้ามืดแค่ 2 ครั้ง คือ  กลางมกรา-กุมภา  และกลางพฤษภา-มิถุนา
  • ครั้งที่กลางเดือนมกรา จะเป็นดังรูป  ประมาณตีห้าจะเห็นสูงสุดวันที่ 27  หลังจากนั้นจะค่อยๆ ผลุบหายไปอีก
  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์  จะมีดวงจันทร์เสี้ยวมาอยู่ใกล้ๆ  ก่อนจะบ๊ายบายไปอีกหลายเดือน
  • แต่ไม่เป็นไร มันจะโผล่ให้เห็นทางทิศตะวันตกแทนถึง 3 ครั้งในช่วงเดือน เมษา   กรกฏา  และพฤศจิกา

ดาวอังคาร

  • 30 มกรา  ดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เวลาตี 3  แต่จะไม่สว่างเว่อ เพราะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าค่าเฉลี่ย
  • สองวันก่อนหน้านี้ (28 มกรา) มันอยู่ใกล้โลกมากที่สุด (แต่ก็น้อยกว่าอีก 5 ครั้งในห้วง 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ดี)

  • มันเริ่มออกจากปากสิงห์(กลุ่มดาวสิงโต)แล้วเข้ามาสู่ก้ามปู(กลุ่มดาวปู)ตอนต้นเดือน มกรา
  • แต่แล้วก็กลับมาที่ปากสิงห์อีกตอนเดือนพฤษภา
  • ผ่านดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ตอนมิถุนา
  • แล้วพ้นไปกลุ่มดาวหญิงสาวตอนเดือนกรกฏา แล้วเลยเถิดไปคันชั่ง แมงป่อง ….
  • ปลายพฤศจิกา เป็นช่วงสุดท้ายที่เราเห็นดาวอังคาร หลังจากนั้น จะถูกแสงอาทิตย์กลบไปอีก 5 เดือน (บ๊ายบาย)

 ดาวพฤหัสบดี

  • เป็นดาวเคราะห์สว่างอันดับสองรองจากดาวศุกร์ (ที่สามารถสังเกตได้)
  • ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เราจะเห็นมันอยู่ทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ และจะเป็นเช่นนี้จนสิ้นเดือนกุมภา
  • 28 กุมภา  ดาวพฤหัสฯจะอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ เราจึงมองไม่เห็น
  • แต่ต้นเดือนเมษา ดาวพฤหัสฯจะกลับมาอีกครั้งแต่มาดใหม่ ทางทิศตะวันออกตอนเช้ามืด ในกลุ่มดาวปลา
  • 20 กันยายน ตอนตี 4  ดาวพฤหัสฯจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์และใกล้โลกมากที่สุดในตั้งแต่ปี 2506 เพราะขณะนี้ดาวพฤหัสฯกำลังเดินทางในขาใกล้โลก
  • ช่วงตุลาถึงธันวา ดาวพฤหัสฯจะไปใกล้ดาวคนแบกหม้อน้ำ แต่หลังจากนั้นจะกลับไปที่ปลาอีก

 

ดาวเสาร์

  • ปีนี้ดาวเสาร์หันวงแหวนด้านกว้างออก น่าจะเห็นชัดกว่าเดิม แต่เนื่องจากมันกำลังอยู่ขาไกลดวงอาทิตย์ จึงไม่ช่วยให้เห็นชัดขึ้นเท่าไร
  • สังเกตง่ายๆ  ปีนี้เขาจะอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวทั้งปี ดังนั้นช่วงเดือนกันยา จึงอาจจะไม่เห็นเขาซะแล้ว
  • แต่เขาจะกลับมาตอนเช้ามืดของเดือนตุลา อีกครั้ง
  • 22 มีนา เขาจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์อีก

นอกจากนี้ยังมีดาวยูเรนัสและเนปจูน ซึ่งอยู่เหนือสายตาน้อยนิดของมนุษย์ธรรมดาๆจะสังเกตได้

หมายเหตุ

  • เราจะเห็นดาวเคราะห์ในแถบจักราศีเท่านั้น (หมายถึงจะไม่เห็นทางขั้วเหนือ หรือขั้วใต้ของท้องฟ้า)
  • ดาวพุธและดาวพฤหัสบดีมีสีขาว ดาวอังคารมีสีแดง    ดาวเสาร์กับดาวศุกร์มีสีขาวออกมาทางเหลือง
  • ดาวเคราะห์สว่างสดใสกว่าดาวฤกษ์ทั้งหมดที่มองเห็นได้
  • ชื่อเรื่อง ประชดหมอดูเล่นๆ ฟังแล้วขัดใจ

ขอขอบคุณ สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/ สำหรับข้อมูลปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

3 ความเห็น leave one →
  1. 01.06.2010 12:50 am

    โห….เด๋ยวนี้ expert นะ

  2. bmfactory permalink*
    01.06.2010 4:06 pm

    นส.จุ๊ยส์ คิดว่า เราจะได้ดูดาวอะไรกันบ้าง ตอบด้วย

  3. 01.09.2010 12:32 pm

    นิ เราต้องเช็ควันให้เรียบร้อยใช่ม่ะ

    ปล.อย่าลืมแก้ให้ด้วย

ส่งความเห็นที่ pharmatistclub ยกเลิกการตอบ